วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

232. พระสมเด็จ มวลสารพิเศษ

พระสมเด็จ มวลสารพิเศษ

หากกล่าวถึงพระสมเด็จเรื่องเกี่ยวกับมวลสารสามารถแยกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. มวลสารที่ใช่และสร้างถูกต้องตามพิธีกรรม เซียน...ทั้งหลายยอมรับ
2. มวลสารที่ใช่และสร้างถูกต้องตามพิธีกรรม เซียน...ทั้งหลายไม่ยอมรับ เพราะไม่อยู่ในสาระบบ
3. มวลสารที่ไม่ใช่ และสร้างไม่ถูกต้องตามพิธีกรรม 
ผู้เขียนได้พบพระสมเด็จมวลสารพิเศษเมื่อ หลายปีก่อน  ลักษณะของสีขาวคล้ายสีน้ำนม พระองค์นั้นไม่ทราบว่าไปซุกเก็บไว้ที่ใด  แต่มาวันนี้ ได้พบพระมวลสารเนื้อสีแดงชนิดพิเศษ จึงได้ลงทุนซื้อมาเพื่อเปิดเผยเป็นวิทยาทาน

มวลสารพิเศษนี้  เป็นสิ่งที่สามารถพบเห็นได้  แต่น้อยคนจะทราบ เช่น พระสมเด็จปิดทองทั้งองค์  พระสมเด็จบุทอง บุเงิน และพระสมเด็จติดแผ่นทองด้านหน้าด้านหลัง ลักษณะพระเครื่องทำนองนี้ที่สำคัญน้ำหนักจะเบาๆ

พระชุดเหล่านี้จะมีความเด่นพิเศษ ด้านเหนียว อยู่ยงคงกระพัน 
พระสมเด็จมวลสารพิเศษนี้ที่เข้าใจ จะมีสีขาวคล้ายสีน้ำนม สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงินฯลฯ

พระองค์ที่ 1 
พระสมเด็จด้านหลังฝังเหล็กไหลชนิดดูดติด
พระสมเด็จเนื้อแดง มวลสารพิเศษด้านหลังฝังเหล็กไหล องค์นี้คนไม่สันทัดในการดูพระเครื่องมองยังไงก็เก่า เนื้อสวยจริงๆ อีกทั้งด้านหลังยังฝังเหล็กไหล ปิดทองคำเก่าทั้งองค์ สุดยอดดดดดดดดดดดด
 
 
พระองค์ที่ 2
พระรูปเหมือนสมเด็จโต ด้านหลังฝังเหล็กไหลชนิดดูดติด
พระสมเด็จเนื้อแดง รูปเหมือนเจ้าพระคุณสมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง ด้านหน้ามีหินสีเขียวส่องประกายแสงงดงาม(มีตำหนินิดหน่อย) ด้านหลังฝังเหล็กไหลชนิดดูดติด เนื้อสวยเหมือนกับองค์ที่ 1 คนหัดดเล่นสะสมดูยังไงก็เก่าได้อายุ น่าสะสมสุดยอดดดดดดดดดด อีกองค์หนึ่ง
 
อะไรก็สุดยอดดดดดด ไปหมด 
มาดูผลวิเคราะห์ว่าสุดยอดยังไง  ด้วยวิธีล้างด้วยผงซักฟอก แล้วใช้แปรงสีฟันขัดๆถูๆ 
องค์ที่ 1 ภายหลังจากที่ล้างทำความสะอาด
สังเกตุสักนิดจะพบว่า มวลสารสีแดงๆ แท้ที่จริงแล้ว คือ พลาสติก สีแดง ด้านหน้าเห็นมีเส้นขน เป็นขนแปรง
ด้านข้างขอบซุ้มมีรูของฟองอากาศ ทำให้มองคล้ายกับการยุบตัว  มองยังไงก็เห็นแต่เนื้อพลาสติกสีแดง
มอง ผ่านๆ อย่างพึ่งหลงดีใจว่าเป็นเหล็กไหลชนิดดูดติด ที่จริงแล้วเป็นแม่เหล็ก สีทองมองผ่านๆคิดว่าเป็นทองคำเปลวแท้ที่จริงแล้วเป็นสีวิทยาศาสตร์ ทาในช่วงที่พลาสติกยังไม่แข็งตัวเต็มที่
มองดูดีๆจะเห็นรอยตะไบขัดตบแต่ง
องค์ที่ 2 ภายหลังจากที่ล้างทำความสะอาด
มองจุดไหนก็เป็นเนื้อพลาสติก ไม่มีอะไรบ่งบอกว่ามีผงพระผสมอยู่
เอาหินสีเขียวมาวางหลอกล่อผู้ที่สนใจ
มองมุมไหน...พลาสติกดีๆนี่เอง
สีดำๆที่เห็นเป็นแม่เหล็ก สีทองไม่ใช่ทองคำเปลว แต่เป็นสีวิทยาศาสตร์ ทาในช่วงที่พลาสติกยังไม่แข็งตัวเต็มที่
*****พระเครื่องในลักษณะอย่างนี้จะมีมากใน ตลาด คนสร้างจะพยายามสร้างหรือทำอะไรปิดๆเนื้อในเอาไว้ไม่ให้เห็น  โดยเฉพาะพระที่ถูกหุ้มห่อเอาไว้  

พระปลอมเรียนแบบทั้ง 2 องค์นี้ไม่แนะนำให้ซื้อหามานะครับ เพราะเป็นพระพลาสติก ดังนั้นจึงมีความเหนียว และอยู่ยงคงกระพันชั่วฟ้าดินสลาย  ก็จะไม่พุพัง ยกเว้นโดนไฟเผา

ความรู้เรื่องเกี่ยวกับพลาสติก
มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาเคมี และทำพลาสติกขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1868( พ.ศ.2411)  โดย จอห์น เวสลีย์ ไฮแอท (John Wesley Hyatt) นักวิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองผลิตวัสดุชนิดหนึ่งจากปฏิกิริยาของเซลลูโลสไนเทรต กับการบูร ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สามารถทำเป็นแผ่นแบนบาง มีความใสคล้ายกระจก แต่ม้วนหรืองอได้ และได้เรียกชื่อตาม วัตถุดิบที่ใช้ว่า “เซลลูโลสไนเทรต” ต่อมาพลาสติก ชนิดนี้ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และเป็นที่นิยม เรียกว่า “เซลลูลอยด์” (Celluloid) การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเชิงอุตสาหกรรมได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีพลาสติกชนิดอื่นๆเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย อุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2500 ใน ระยะแรกมีการนำเข้าพลาสติกเรซินจาก ต่างประเทศ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกกันประปราย ต่อมาใน พ.ศ. 2506 ได้มีการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงต้องนำเข้าเรซินจากต่างประเทศเช่นกัน จนกระทั่งใน พ.ศ. 2514 ประเทศไทยจึงสามารถผลิตพลาสติกเรซินคือ พีวีซี ได้เองเป็นชนิดแรก