วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระสมเด็จ เนื้อชินเขียว วัดระฆัง พ.ศ.2408

พระสมเด็จ เนื้อชินเขียว(ตะกั่วถ้ำชา) พ.ศ.2408

ชื่อ:
พระสมเด็จ เนื้อชินเขียว ตะกั่ว(ถ้ำชา) พ.ศ. 2408

สร้างสมัย:
รัชกาลที่ 4  พ.ศ.2408

ผู้อธิษฐานจิต(สร้าง):

สมเด็จฯ โต พรหมรังสี วัดระฆัง


มวลสาร:

ชินอุทุมพร หรือ  ชินเขียว มีส่วนผสมของตะกั่วและแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ สีเขียว(เกิดจากมีส่วนผสมทองแดง) สนิมเป็นเม็ดสีขาวหม่น
พระองค์ใดมีส่วนผสมของตะกั่วยิ่งมาก พระองค์นั้นจะมีความอ่อนจับบิดงอได้ง่าย 

พลานุภาพ:
ครบเครื่องทุกเรื่องฯลฯ
เมตตามหานิยม มหาอำนาจ บารมี  โชคลาภ  วาสนา  พลานุภาพ 108 เหนือคำบรรยาย มีครบทุกด้าน ไร้ขีดจำกัด

ฝีมือสร้าง:
วัดระฆัง

อายุ:
(2556-2408) 148 ปี


ราคาเหมะสม:

3,500,000.00 บาท(สามล้านห้าแสนบาทถ้วน)


ราคาเซียนใหญ่: 100,000,000.00 บาท(หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน)


ราคาท้องตลาด: -

ราคาสมบัติผลัดกันซื้อ:

มีกำไรซื้อ-ขายได้ทุกราคา 
พระสมเด็จตะกั่วถ้ำชา เนื้อชินเขียว  วัดระฆัง พ.ศ.2408


พระสมเด็จตะกั่วถ้ำชา เนื้อชินเขียว  วัดระฆัง พ.ศ.2408

- เนื้อชินเขียวในวงกลมสีเขียวๆ
- เกิดสนิทสีขาวหม่นในวงกลม เมื่อสัมผัสกับอากาศได้ไม่ถึง 1 อาทิตย์
- องค์พระสมเด็จฯ สมัยเมื่อ 148 ปีที่ผ่านมา รักษาองค์พระด้วยการทารักสีส้มอมน้ำตาลแดงด้านหน้าและด้านหลังขององค์
- ผู้เขียนได้มาครั้งแรก ออกแรงบิดเบาๆ เนื้อโลหะธาตุมีความอ่อนตัวบิดงอไปมาได้ และรักที่ทาไว้ระเบิดออกเผยให้เห็นเนื้อในของเนื้อชินเขียว(ตะกั่วถ้ำชา) ดังรายละเอียดของรูปที่ขยาย
- ตำราโบราณมีผู้กล่าวไว้ว่า "ชินเขียว มีสนิมสีขาวหม่น" คือ พระที่มีมวลสารโลหะธาตุดังเช่น พระสมเด็จองค์ที่ผู้เขียนนำมาเปิดเผยเพื่อเรียนรู้และศึกษา ดั่งคำว่า สมบัติผลัดกันชม  เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมย่อมต้องเปลี่ยนเจ้าของ เพราะผู้สร้างก็ตายไปหมดแล้ว  คนที่เคยครอบครองก่อนหน้าก็ตายไปแล้วเช่นกัน  

บทความอ้างอิงฯ คลิกลิงก์ http://dr-natachai.blogspot.com/2013/10/blog-post_26.html 

ตะกั่วถ้ำชา ชิน นวโลหะ สัมฤทธิ์ สำริด ต่างกันอย่างไร?

ตะกั่วถ้ำชา ชิน นวโลหะ สัมฤทธิ์ สำริด ต่างกันอย่างไร?


จาก การศึกษาข้อมูลทางวิชาการที่มีผู้เขียนขึ้นกล่าวถึง...และจากผลการวิเคราะห์ โลหะธาตุ ทั้งหมดเรียกว่าสัมฤทธิ์ หรือ สำริด ภาษาฝรั่งเรียกว่า Bronze เป็นโลหะธาตุที่มีสูตรหรือส่วนผสมหลากหลาย  อยู่ที่ผู้หลอมโลหะธาตุการการนำไปใช้ทำอะไร  เมื่อหลอมหล่อโลหะธาตุสำเร็จออกมามีวรรณะสีผิวแตกต่างกันไป เช่น ขาว เหลือง แดงอ่อน เป็นต้น

ชิน หมายถึง โลหะผสมได้มากกว่าหนึ่งอย่าง พระเครื่องในเมืองไทยที่สร้างจากเนื้อชิน มักจะมีส่วนผสมหลักๆ ได้แก่ ปรอท ดีบุก ตะกั่ว และทองแดง ทั้งนี้เมื่อผสมแล้วจะออกมาเป็นเนื้ออะไร ขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งมาก เช่น ถ้าใส่ทองแดงจะช่วยให้มีความแข็งของโลหะและยิ่งใส่ผสมมากขึ้นยิ่งทำให้โลหะที่ได้มีความแข็งมากขึ้น  (เมื่อโลหะที่นำมาหลอม โลหะที่มีน้ำหนักเบาจะลอยอยู่ด้านบน พระองค์ใดเทก่อนโลหะเบาลงเบ้าก่อน พระชุดแรกออกมาเนื้อแบบหนึ่ง องค์ที่เทภายหลังโลหะหนัก เช่น ตะกั่วนอนก้นเตาหลอมเทออกมาเป็นเนื้ออีกแบบหนึ่ง) โลหะธาตุเนื้อมวลสารต่างกันจะมีลักษณะเฉพาะตัวและมีชื่อเรียกขานที่แตกต่างกันไป เช่น ชินตะกั่ว ชินเงิน ชินอุทุมพร ชินเขียว ก็สุดแท้แต่จะเรียกขานกันไป ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าแยกตามวรรณะสีผิว เมื่อผ่านกาลเวลามีความเก่ามากขึ้น  มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด(ยิ่งเก่ายิ่งเห็นชัด) ทั้งในด้านสีสันและลักษณะพื้นผิว ไข สนิม รอยเหี่ยว รอยปริราน ฯลฯ


เนื้อ นวโลหะ ฝรั่งเขาตั้งชื่อจดทะเบียนให้ว่า Thai bronze   หมายถึง สัมฤทธิ์ไทย (สำริดไทย)

คำว่า bronze หมายถึง สำริด หรือ โลหะหลายชนิดมารวมกัน ไม่มีสูตรตายตัวแน่นอน ซึ่งก็ คือ ชิน โลหะที่โบราณนิยมมาสร้างเป็นเครื่องมือเครื่องใช้รวมถึงสร้างองค์พระขนาด ใหญ่และเล็กมีมานานนับหลายพันปีที่ได้พบตามสถานที่ต่างๆทั่วประเทศไทย


พระเนื้อชิน หมายถึง พระโลหะ ที่มีวรรณะสีผิว แววๆ ผิวออก ขาวๆ เงินๆ ตะกั่วๆ โดยปกติ กระแสสัดส่วนของโลหะ แก่ตะกั่ว(ผิวขาว)  แก่ปรอท(ผิววาว)  แก่ทองแดง (สนิมเขียว) โบราณนิยมสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล

ใน อดีตกล่าวกันว่า ชิน เป็นโลหะธาตุผสมของ ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี เหล็ก พลวง ปรอท และเงิน ฯลฯ ที่ไม่มีสูตรตายตัว  อยู่ที่ความเชื่อและศรัทธาของผู้สร้างว่าต้องการใส่แร่ธาตุชนิดใดบ้าง ส่วนผสมมากน้อยไม่เท่ากัน


ประเภทของโลหะธาตุ

ปรอท   ใส่ปรอทลงไปเป็นส่วนผสม เพื่อให้เนื้อโลหะหลอมเหลววิ่งเข้าติดซอกมุมของพิมพ์  เพราะปรอทจะหนีความร้อน ทำให้โลหะธาตุอื่นๆวิ่งตามไปติดเต็มพิมพ์ทำให้องค์พระเทออกมาสมบูรณ์สวยงาม  ปรอทหากอยู่ส่วนผิวนอกสุดจะทำให้พระมีสีเงินแวววาว ผิวปรอทจะเปลี่ยนแปลงยากต้องใช้เวลาหลายร้อยปีถึงพันปีขึ้นไปจึงจะมีลักษณะซีดหมองลง หรือเรียกว่าปรอทตาย เมื่อสัมผัสความชื้น ความเค็มผ่านไปหลายร้อยปีจะหมองลงๆ จนกระทั่งดำ


เนื้อตะกั่ว เป็นส่วนผสมหลักของพระเครื่องประเภทเนื้อชินที่มีการสร้างในไทยมากที่สุด การสร้างการผลิตทำได้ง่าย มีจุดหลอมเหลวต่ำ ลักษณะของตะกั่วเมื่อผ่านกาลเวลาจะมีสีดำคล้ำ มีความฉ่ำที่สัมผัสได้ทางสายตา มีความยับ ความย่น ความโปร่งพรุน ตามธรรมชาติ  มีสนิมและไขขาว พระเนื้อชินตะกั่วที่มีอายุมากๆบางทีสนิมกับไขนั้นก็กินลึกเข้าไปถึงเนื้อใน ทำให้เกิดหลุมบ่อหรือกินจน แทบไม่เหลือเนื้อแท้อยู่เลย กลายเป็นไขและสนิมมาแทนที่เนื้อโลหะเดิม ขึ้นอยู่กับสภาพการเก็บรักษา สนิมและไขนั้นเกิดจากภายในเนื้อแร่โลหะที่ผสมหล่อหลอมกับเนื้อตะกั่ว


เนื้อดีบุก เป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในไทย  ในสมัยโบราณใช้ทำเหรียญและเครื่องใช้หลายชนิด ลักษณะเด่นของดีบุกเมื่อผ่านกาลเวลาไปคือจะมีสีดำสนิท  ถ้าถูกความชื้นเพราะเก็บรักษาไม่ดี โลหะธาตุที่ผสมในเนื้อตะกั่วจะมีลักษณะพองตัวและทำให้ตะกั่วปริแยกออก นักเล่นพระจะเรียกว่า ระเบิด


*** พระเนื้อชินมีสูตรมากชนิด...สร้าง...แต่ละยุคสมัย...ต่าง พ.ศ....ต่างที่...ต่างกรุ จะมีมวลสารเนื้อหาต่างกันไป...อายุสร้าง 100 ปี  500 ปี มากกว่า 1,000 ปี  วรรณะสีผิวมีความแตกต่างกันสิ้นเชิง

หลักในการพิจารณาพระเนื้อชิน สร้างสมัย รัชกาลที่ 4 ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้








ชินวร หรือ 
ชินสังกะสี มีส่วนผสมของสังกะสีมากถึง 90% ทองแดงประมาณ 6% และรีเนียม ประมาณ 3% และแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ   เนื้อแข็ง สนิมดำ แกร่งมาก น้ำหนักเบากว่าเนื้อชินตะกั่วและเนื้อชินดีบุก
 
ชินอุทุมพร หรือ 

ชินเขียว มีส่วนผสมของตะกั่วและแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ สีเขียว(เกิดจากมีส่วนผสมทองแดงมาก) สนิมเป็นเม็ดสีขาวหม่น
 
ชินเงิน มีส่วนผสมของตะกั่ว ทองแดง
และแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ฯลฯ และมีปรอทผสมอยู่มาก จะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ 
 
ชินตะกั่ว แบบที่1

ตะกั่วถ้ำชา มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดประมาณ 98 % มีทองแดง 2 % และแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ พระที่มีส่วนผสมของทองแดงมากจะมีความแข็งเพิ่มขึ้น

ชินตะกั่ว แบบที่2 มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดประมาณ 90 % มีทองแดง 9.5 % และแร่ธาตุ อื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ พระที่มีส่วนผสมของทองแดงมากจะมีความแข็งเพิ่มขึ้น(เอกลักษณะเฉพาะของทองแดง เมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศและโลหะธาตุอื่นๆจะเกิดสีเป็นสนิทสีเขียว)  และพระองค์ใดมีส่วนผสมของตะกั่วยิ่งมาก พระองค์นั้นจะมีความอ่อนจับบิดงอได้ง่าย 

ชินดีบุก  มีส่วนผสมของดีบุกมากที่สุดประมาณ 71 % มีทองแดงประมาณ 18 % ตะกั่วประมาณ 7.5%  เหล็กประมาณ 2.5% และแร่ธาตุ อื่นๆเช่น ปรอทฯลฯ
กรรมวิธีการสร้างพระ เนื้อชิน ถือเป็นการหลอมเหลวรวมโลหะธาตุที่สำคัญ  พระที่พบส่วนมากจะเป็นศิลปะสกุลช่างหลวง พระเนื้อชินจัดเป็นพระที่ไม่ยุ่งยากในการสร้าง หากในสมัยโบราณกรรมวิธีนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการและอาศัยแรงคนจัดทำ มิใช่น้อย ดังนั้นผู้ที่สามารถสร้างพระเนื้อชินได้ จะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในชั้นเจ้านาย หรือระดับผู้นำ ที่สามารถสั่งบัญชาการได้ จึงถือว่าพระเนื้อชินเป็นพระเครื่องชั้นสูงมาแต่โบราณ ประการสำคัญ การพบพระเนื้อชินส่วนมากจะพบในกรุตามโบราณสถานสำคัญ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะกระทำได้

พระเนื้อชิน ถือเป็น อมตะพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล
พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นโลหะธาตุชนิดหนึ่งที่ครองใจผู้คนมานาน นับแต่โบราณความเชื่อและศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึก ในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง 


สัมฤทธิ์
สัมฤทธิ์ หรือ สำริด เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง และดีบุก สัมฤทธิ์บางชนิดอาจมีส่วนผสมของสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่ด้วย สัมฤทธิ์ที่เป็นโลหะผสมของทองแดง นิยมใช้ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลที่ใช้กันมากในงานอุตสาหกรรม สัมฤทธิ์แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามชนิดและส่วนผสมของสาร คือ
1. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ 8 ค่อนข้างอ่อน ตีแผ่ หรือรีดได้ง่าย เหมาะกับงานทั่วๆ ไป
2. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ 8 แต่มีสังกะสี หรือตะกั่วผสมอยู่ด้วย เช่น สัมฤทธิ์ 5-5-5 คือ สัมฤทธิ์ที่มีส่วนผสมของดีบุกร้อยละ 5 สังกะสีร้อยละ 5 ตะกั่วร้อยละ 5 ใช้ทำเฟือง และหล่อทำเครื่องสูบน้ำ
3. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกร้อยละ 8-10 อาจมีสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่บ้าง สัมฤทธิ์ชนิดนี้ใช้ทำท่อน้ำ
4. สัมฤทธิ์ที่มีฟอสฟอรัสผสมอยู่ร้อยละ 0.1-0.6 ดีบุกร้อยละ 6-14 สัมฤทธิ์ชนิดนี้ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ทำชิ้นส่วนของเรือเดินทะเล เช่น ใบพัดเรือ และทำเฟืองเกียร์
5. สัมฤทธิ์ที่มีตะกั่วผสมร้อยละ 8-20 บางชนิดอาจสูงถึงร้อยละ 30 ส่วนดีบุกนั้นมีตั้งแต่ร้อยละ 0-10 ใช้ทำแท่นรองรับ (bearing)
6. สัมฤทธิ์ชนิดที่ใช้ทำระฆัง หรือเครื่องเสียง มีส่วนผสมของดีบุกมากกว่าร้อยละ 30 โดยผสมตะกั่วและสังกะสีลงไปเล็กน้อย

*** จากข้อมูลสัมฤทธิ์(สำริด) ที่นิยมในงานอุตสาหกรรม สรุปได้ว่า สำริด ก็คือ ชิน เป็นโลหะธาตุที่มีส่วนผสม(สูตร)เฉพาะเจาะจงของผู้สร้าง...  ที่วงการพระเครื่องกล่าวขานถึงนั้นเอง

การวิเคราะห์พระสมเด็จด้วยวิธี คาร์บอน – 14 Carbon – 14

การวิเคราะห์พระสมเด็จด้วยวิธี คาร์บอน – 14 Carbon – 14

ปีนี้นักสะสมพระเครื่องเนื้อผงฯ ต่างตื่นเต้นกับ
การตรวจอายุพระสมเด็จโดยวิธี คาร์บอน – 14   Carbon – 14   
     เพื่อทำความเข้าใจ  ในกระทู้นี้จึงได้นำผลวิเคราะห์ที่มีในเน็ตนำมาวิเคราะห์ให้ท่านที่สนใจได้ เข้าใจ  สามารถอ่านข้อมูลของผลสรุปการวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง  อ่านค่าผลสรุปที่ได้เข้าใจถูกต้อง...ไม่ใช่ฟังเขาเล่าว่า...

รูปที่ 1 ภาพกรรมวิธีในการวิจัยหาอายุ พระสมเด็จฯ....โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถานที่ตั้ง จ.นครนายก
ผลสรุปของกราฟจากข้อมูลรูปที่ 1
1. กราฟเส้นสีแดง 
2. กราฟเส้นสีเขียว 
3. กราฟเส้นสีน้ำเงิน 
4. กราฟเส้นสีเหลือง  
     กราฟทั้ง 4 เส้น กราฟเส้นสีน้ำเงิน  และกราฟเส้นสีเขียว  จุดเริ่มต้นเห็นเด่นชัดคือ เริ่มต้นที่เลขต่ำกว่า 100 (เล็กน้อย)ไปสุดกราฟทางขวามือ คือ ประมาณ 700 หมายถึง  เส้นกราฟเริ่มวิเคราะห์อายุของพระสมเด็จฯ วิเคราะห์อายุได้ต่ำกว่า 100 ปี(เล็กน้อย) ไล่ไปทางขวามือประมาณ 700 ปี  (น่าจะมีกราฟต่อออกไปอีกแต่ไม่ได้โชว์ในรูปนี้)
     ดังนั้นกราฟแสดงผลสรุปพระสมเด็จฯที่นำมาทดสอบวิเคราะห์อายุด้วยกราฟมีอายุประมาณ 100 ปี(เก้าสิบกว่าปี)

รูปที่ 2 ภาพใบรายงานการวิจัยหาอายุ พระสมเด็จฯ....โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถานที่ตั้ง จ.นครนายก

ดูในกรอบสี่เหลี่ยมสีม่วง 
 --- Age (Years, B.P.) หมายถึง  อายุ (ปี และ ค่าความคลาดเคลื่อน)



รูปที่ 3 ตัวอย่างรูปอ้างอิงฯ เพื่อเปรียบเทียบผลสรุป เพื่อจะได้เข้าใจการอ่านข้อมูล ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน
อ้างอิงจาก ลิงก์ ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน หน้า 10/43 (คลิก) http://www.slideshare.net/Chattichai/2-2-4736513


ผลสรุปรูปที่ 2 รายงานจากการวิเคราะห์  Analysis Report 
     --- 1170 คือ อายุของตัวอย่างพระสมเด็จฯที่วิเคราะห์มีอายุมากที่สุด 1,170 ปี  
     --- ค่าทฤษฏีการวัดความคลาดเคลื่อน + - เท่ากับ 170 ปี

ทฤษฏีค่าความคลาดเคลื่อน 
     --- คิดค่าความคลาดเคลื่อนอายุมากสุด = 1,170 ปี   +170 ปี เท่ากับ 1,340 ปี
     --- คิดค่าความคลาดเคลื่อนอายุต่ำสุด   = 1,170 ปี    - 170 ปี เท่ากับ 1,000 ปี

     ผลของการวิเคราะห์อายุพระสมเด็จฯ...มีอายุ 1,000 - 1,340 ปี  อย่าพึ่งงง พิมพ์ไม่ผิดครับ อายุหนึ่งพันถึงหนึ่งพันสามร้อยสี่สิบปี  ซึ่งเป็นผลของการวิเคราะห์เนื้อมวลสารของพระสมเด็จ...ที่มีผสมอยู่อายุ(น่าจะ)เก่าแก่(มาก)ที่สุด  หากใครกล่าวว่าพระสมเด็จฯสร้างมีอายุถึงหนึ่งพันปีคงได้ ฮา กันท้องแข็ง

วัตถุประสงค์ใน กระทู้นี้เพื่อให้คนที่เข้ามาอ่านในกระทู้นี้ได้เข้าใจวิธีการอ่านผลสรุปของ รายงานผลของกราฟและสรุปอายุและค่าทฤษฏีความคลาดเคลื่อนเป็น  ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อโจมตีหรือใส่ร้ายผู้หนึ่งผู้ใด

ปีนี้ พ.ศ.2556 พระสมเด็จฯที่นำมาทดสอบ ลบ 100 ปี เท่ากับ พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นสมัยต้นรัชกาลที่ 6  
สามารถสรุปได้เป็น 2 กรณี
     1. การทดสอบด้วยการตรวจอายุพระสมเด็จโดยวิธี คาร์บอน – 14   Carbon – 14   ถ้าบอกว่าผลสรุปของกราฟถูกต้องเม่นยำ  แต่ตรวจสอบด้วยตาใน อายุประมาณ 100 ปีผิด ไม่ตรงกับปี พ.ศ.ที่สร้างห่างเยอะ และถ้าใครอ่านสรุปผลข้อมุลพระสมเด็จฯที่ทดสอบมีอายุ 170 ปี โปรดทราบว่านั้นคือการมั่วข้อมูล
     2. ถ้าบอกว่าห้องปฏิบัติการทดสอบ(ห้อง LAB) วิธีการและเงื่อนไขการทดสอบยังใช้ไม่ได้จากผลวิเคราะห์ในครั้งนี้  เรื่องนี้สำหรับผู้เขียนคิดว่าต้องมีการปรับแก้เงื่อนไขการวิเคราะห์ฯลฯเพื่อตั้งค่าของเครื่องมือให้เหมาะสม(คิดว่าน่าจะทำได้) แล้วใครละจะทำได้

พระสมเด็จเนื้อว่านมงคล

พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 วัดระฆัง พ.ศ.2414

พระ สมเด็จเนื้อว่าน ส่องพบผิวละเอียดหนึกแน่นและเนียน วรรณะสีน้ำตาลคล้ำ เป็นเนื้อผงผสมว่าน 108 น้ำหนักเบา เป็นพระพิมพ์ที่ สมเด็จฯ โต  พรหมรังสี วัดระฆัง อธิษฐานจิตปลุกเสก มีจำนวนสร้างน้อย คนรู้จักในวงแคบ  หาดูได้ยากยิ่ง  ในอดีตชนชั้นธรรมดายากนักที่จะได้ครอบครอง ใช่ว่ามีเงินเพียงอย่างเดียวจะหาไว้ครอบครองได้ง่ายๆ  จะต้องเป็นผู้มีบุญญาธิการบารมี  จึงจะได้ครอบครอง ใครได้ครอบครองไว้จะมี อำนาจ บารมี เหนือผู้อื่น พกพาติดตัวแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บ กิจการงานเจริญก้าวหน้า  มีโชคลาภ เลื่อนยศ  เลื่อนตำแหน่ง  เดินทางไปที่ใดมีเทวดารักษา ฯลฯ

(ชื่อพระเครื่อง)
พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 วัดระฆัง พ.ศ.2414

(สร้างสมัย)
รัชกาลที่ 5  พ.ศ.2414

(ผู้อธิษฐานจิต) สมเด็จ ฯ โต พรหมรังสี วัดระฆัง

(มวลสาร) ผงวิเศษ และว่าน 108


(พลานุภาพ)
รักษาป้องกันโรคภัยอันตราย  มหาอำนาจ บารมี  โชคลาภ  วาสนา  พลานุภาพ 108 เหนือคำบรรยาย มีครบทุกด้าน ไร้ขีดจำกัด


(ราคาเหมะสม) 300,000.00 บาท(สามแสนบาท)

(ราคาเซียน) -


(ราคาท้องตลาด) -

(ราคาสมบัติผลัดกันซื้อ) มีกำไรซื้อ-ขายได้ทุกราคา 

หมายเหตุ.....เป็นพระสมเด็จที่หาคนรู้จักยากยิ่ง  จึงนำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานเผื่อคนที่มีในครอบครองได้จะรู้จัก


พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 (พิมพ์ไกเซอร์) 
ด้านหน้าและด้านหลัง
พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 สมเด็จฯโต พรหมรังสี สร้างอธิษฐานจิต พ.ศ.2414
--- พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 มองจากรูปถ่ายด้านหน้าและด้านหลัง  ผิวละเอียดหนึกแน่นและเนียน วรรณะสีน้ำตาลคล้ำ
--- พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 องค์นี้เป็นพิมพ์ไกร์เซอร์ มีขนาดใกล้เคียงกับพระสมเด็จฯทั่วๆไป 
พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 (พิมพ์ไกเซอร์) 
ขยายเนื้อมวลสารด้านหน้า
พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (ใบหน้าองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (อกและไหล่ขวาองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (ไหล่ซ้ายองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (แขนขวาองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (แขนซ้ายองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (หัวเข่าขวาองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (หัวเข่าซ้ายองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (ฐานกลีบบัว)
 
พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 (พิมพ์ไกเซอร์) 
ขยายเนื้อมวลสารด้านหลัง ศึกษาเรียนรู้ ดูด้วยตาของตนเอง สิบปากว่าไม่เท่ากับหนึ่งตาเห็น





พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 (พิมพ์ไกเซอร์) 
ขยายเนื้อมวลสารขอบด้านข้างขององค์พระ ยุบย่น แตกแยก ทรุดตัว มีครอบ




ค่อยๆ พิจารณาเรียนรู้เนื้อมวลสารทีละรูป 
         พระสมเด็จเนื้อวานมีมวลสารและว่าน 108 เป็นพระสมเด็จเนื้อว่านที่ไม่อยู่ในสาระบบของเซียนใหญ่  เพราะสร้างน้อย  มีกล่าวถึงในหนังสือ  พระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง  ที่คุณ มัตตัญญู ได้กล่าวถึง  แต่เป็นคนละพิมพ์กัน
         หากใครมีในครอบครองนับว่าเป็นโชควาสนาวงศ์ตระกูลของท่าน  เพราะเป็นพระสมเด็จฯที่สร้างจำนวนน้อย  จะพบสักองค์ยากๆๆๆๆครับผม...

พระสมเด็จวัดพลับใครสร้าง?

พระสมเด็จวัดพลับ หรือ
พระสมเด็จพิมพ์วัดพลับ ใครสร้าง?  อดีตมีผู้สัญนิษฐานไว้ 2 ท่าน คือ
1. พระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
หรือ
2. หลงตาจัน

      เนื้อมวลสารของพระวัดพลับ หาศึกษาได้จากอินเตอร์เน็ตมีมากมาย ขอสรุปใจความที่เด่นๆมาให้รับทราบดังนี้
     1. มีเนื้อมวลสารคล้ายกับพระสมเด็จของสมเด็จฯโต พรหมรังสี วัดระฆัง...
     2. มีผู้รู้กล่าวว่า พระสมเด็จวัดพลับ มีผสมน้ำมันตังอิ้ว...คิดตามนะครับ  สมเด็จฯโต พรหมรังสีสร้างพระสมเด็จ...มีคนกล่าวว่ายุคหลังมีผู้แนะนำให้ท่านผสมน้ำมันตังอิ้วเพื่อเป็นตัวประสานเนื้อมวลสาร  ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ยุคของพระสังฆราช สุกไก่เถื่อนจะสร้างพระด้วยการผสมน้ำมันตังอิ้ว จริงไหมครับ?

บังเอิญ วันนี้รื้อค้น พระเก่าเก็บ มีพระสมเด็จพิมพ์วัดพลับอยู่ 4 องค์  ได้มาจากที่ไหน  เมื่อไร  จำไม่ได้  จึงนำมาพิจารณาดู  เหตุเกิดจากก่อนหน้านี้ประมาณ 1 อาทิตย์มีคนนำพระสมเด็จวัดพลับมาสอบถามผม

ทำให้จำได้  ได้เคยสอบถามเจ้าของพระ...ว่าใครสร้าง สร้างเมื่อไร "เจ้าของพระตอบไม่ได้"  แต่พระ...ที่นำมาสอบถามเป็นพระเก๊-ปลอม  จึงไม่มีการถามต่อ...

จึง ได้พิจารณามองดูด้วยตาพบมวลสารพระเหมือนกับพระสมเด็จของสมเด็จฯโต  พรหมรังสี สร้างอธิษฐานจิต  จึงได้เข้าอินเตอร์เน็ตสืบค้นที่ไปที่มา "เซียน" เขาว่าอย่างไร?  สรุปมีแต่คาดคะเนว่าอย่างโน้นอย่างนี้...ผิดหมด

พระสมเด็จวัดพลับของผม 4 องค์  เป็นพระเครื่องที่เจ้าประคุณสมเด็จฯโต พรหมรังสี สร้างอธิษฐานจิตปลุกเสก เมื่อ พ.ศ.2414  เป็นข้อมูลใหม่ที่ผมพึ่งทราบ และขัดแย้งกับเซียนตำราในอดีตอย่างแรง


พระสมเด็จวัดพลับ ความจริงเป็นพระเครื่อง...ที่สมเด็จฯ โต  พรหมรังสีสร้างอธิษฐานจิตปลุกเสก 
--- พระสมเด็จพิมพ์วัดพลับที่สมเด็จฯโต  อธิษฐานจิตมีขนาดเล็กกว่าเหรียญ 1 บาท
--- ด้านหน้าองค์พระมีลงรักปิดทอง
--- ใต้ผิวรัก ที่ติดกับองค์เนื้อมวลสารสีน้ำตาลอ่อน-เข้ม  เป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง ที่จะพบเห็นมีวรรณะสีผิวเช่นนี้  เพราะถูกทาทับรักษาเนื้อพระด้วย ครั่ง  
--- องค์ซ้ายมือบนจะเห็นชัดเจนสีน้ำตาลบนผิวพระเป็น ครั่ง ที่ได้ทารักษาเนื้อพระสมเด็จ...
---  ความรู้เรื่อง ครั่ง จาก สารานุกรมไทยฯ ฉบับอินเตอร์เนต (คลิก)


 พระสมเด็จวัดพลับ ด้านหลัง
--- พระสมเด็จวัดพลับ ด้านหลัง มีบางจุดที่รักยังหลุดไม่หมด
--- สีน้ำตาล อ่อน ด้านหลังขององค์พระคือ ครั่ง ที่ถูกทาลงบนองค์พระ...เพื่อรักษาองค์พระ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทยสมัยก่อนที่สร้างพระ
--- องค์ซ้ายมือบน  ด้านหลังพระสมเด็จวัดพลับ องค์นี้  ผมได้ล้าง ครั่ง  ออกเพื่อให้เห็นเนื้อมวลสาร มีลักษณะเช่นไร? เพื่อศึกษาเรียนรู้


วิเคราะห์เนื้อมวลสาร 
พระสมเด็จวัดพลับ 
ด้านหน้า

พระสมเด็จวัดพลับ ด้านหน้า ขยายให้เห็นกันใกล้ชิดยิ่งกว่าส่องด้วยกล้อง 10X
--- สีแดงๆอมชมพูที่เห็นซ้ายมือบน เป็นคุณสมบัติหนึ่งของครั่ง
--- สีน้ำตาลอ่อน-เข้ม ที่มีกระจายเกือบทั้งรูป คือ ครั่ง ที่ได้ทาลงบนผิวพระ...
--- สีดำ เข้มๆ คือ รัก ที่ทาทับบน ครั่ง (ชั้นที่ 2 )
--- ทองคำเปลว  ติดทับบนรักที่ทาทับ


พระสมเด็จวัดพลับ มีเนื้อมวลสารเหมือนกับ เนื้อมวลสารของพระสมเด็จ วัดระฆังที่สมเด็จฯโต สร้าง


เนื้อมวลสารพระสมเด็จวัดพลับ คือ เนื้อมวลสารพระสมเด็จ วัดระฆัง  เพราะคนสร้างชุดเดียวกัน


วิเคราะห์เนื้อมวลสาร 
พระสมเด็จวัดพลับ 
ด้านหลัง  
--- ภาพขยายละเอียดคมชัด
--- ดูด้วยตา ศึกษามองเองรู้เอง เข้าใจเอง

พระสมเด็จวัดพลับ ที่จริง คือ พระ...อีกพิมพ์หนึ่งที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯโต พรหมรังสีสร้างอธิษฐานจิต
พระสมเด็จวัดพลับ ที่จริง คือ พระ...อีกพิมพ์หนึ่งที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯโต พรหมรังสีสร้างอธิษฐานจิต

พระสมเด็จวัดพลับ จุดสีแดงๆ คือ สีของ ครั่ง
พระสมเด็จวัดพลับ จุดสีแดงๆ คือ สีของ ครั่ง และสีน้ำตาลอ่อน-แก่ ก็เป็นสีของ ครั่ง เช่นกัน

--- สีดำ ยาวๆ คือ รัก ที่ทาทับ...
--- สีใสๆ ที่อยู่ในเนื้อพระ คือ ข้าว สุก
--- สีขาวขุ่น สีเหลืองอ่อน และสีขาวใส เป็น ผงวิเศษ ของเจ้าประคุณ สมเด็จฯ โต พรหมรังสี
--- สีดำเล็กๆ คือ เกสรดอกไม้
--- ฯลฯ


สรุป พระสมเด็จวัดพลับ เป็นพระ...ของเจ้าประคุณสมเด็จฯโต พรหมรังสี อธิษฐานจิตปลุกเสก แล้วนำไปบรรจุกรุ...ตามสถานที่ต่างๆ 

พระสมเด็จผสมเพชรดำ

พระสมเด็จผสมเพชรดำ

มวลสารพระสมเด็จฯ ที่เคยกล่าวถึงในบทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับ "เพชรดำ"

ในกระทู้นี้จึงได้นำเสนออีกครั้งหนึ่ง  ขยายรายละเอียดเกี่ยวกับ เพชรดำ เพื่อให้เห็นชัดมากขี้น ให้ทราบถึงคุณค่ามวลสารของพระสมเด็จที่ได้ผสม เพชรดำ ไม่ธรรมดาเช่นไร.

พระสมเด็จผสมเพชรดำ ที่เจ้าประคุณ สมเด็จฯ โต  พรหมรังสี วัดระฆังอธิษฐานจิตปลุกเสก


ขยายภาพให้เห็นวรรณะสีผิวของเพชรดำ เมื่อกระทบแสงเป็นประกายแสงดั่งเพชรทั่วๆไป

เพชรดำมีประกายแสงงดงาม และภาพขยายมวลสารพระสมเด็จสีขาวผสมเม็ดข้าวสุก

ใบหน้าขององค์พระ เผยให้เห็นมวลสารพระสมเด็จได้เด่นชัด  สังเกตซ้ายมือยางไม้(มะตุม)ที่เป็นน้ำประสานผสม

ภาพขยายเผยให้เห็นมวลสารของเพชรดำเมื่อมีแสงมากระทบเป็นประกาย  และเนื้อมวลสารพระสมเด็จผสมข้าวสุกฯลฯ มุมบนซ้ายมีส่วนผสมของทองคำ

เพชรดำมีทั้งพื้นผิวธรรมชาติเดิมๆ และผิวที่ถูกตัดออกมาจากเพชรดำเม็ดใหญ่  มวลสารพระสมเด็จเนื้อนี้เป็นเนื้อที่มีการแตกลายงาน้อยมาก

มวลสารพระสมเด็จ ที่ล้างผิวไม่หมดเผยให้เห็นถึงความเก่าและน้ำประสานที่ถูกขับออกจากเนื้อพระสมเด็จ

เพชรดำ เมื่อกระทบกับแสง  มีความงดงามระยิบระยับ

เนื้อมวลสารประเภทนี้มีรอยแตกลายงาน้อยมาก

วรรณะสีผิวที่ล้างทำความสะอาดไม่หมด  เผยให้เห็นถึงส่วนผสมที่เป็นน้ำประสานถูกขับออกมาจากมวลสารพระสมเด็จมีความเก่าแห้งแบบธรรมชาติ

ภาพนี้เผยให้เห็นถึงความเก่าที่ถูกล้างของผิวพระไม่หมดและ เพชรดำส่องแสงประกายงดงาม

สีน้ำตาลอมดำทางขวามือมีความเก่าเกิดขึ้นตามธรรมชาติอายุไม่น้อยกว่า 150 ปี

ภาพนี้เผยให้เห้นถึงคุณสมบัติของเพชรดำเมื่อแสงมากระทบมีความงดงามยิ่งนัก

ภาพนี้เผยให้เห้นถึงคุณสมบัติของเพชรดำเมื่อแสงมากระทบมีความงดงามและเผยให้เห็นมวลสารพระสมเด็จที่ผสม

มวลสารพระสมเด็จ ผสม เพชรดำ เป็นมวลสารพิเศษอีกชนิดหนึ่งที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ โต พรหมรังสี อธิษฐานจิตปลุกเสก  พบเห็นในพิมพ์พระหลายๆพิมพ์   เซียนตำราบางท่านเข้าใจผิดว่าเป็นไหลไหลก็มี

เพชรดำ เมื่อมีแสงมากระทบจะสวยงามมาก