วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

156. พระสมเด็จจิตรดา(พิมพ์พิเศษ)

พระสมเด็จจิตรดา(พิมพ์พิเศษ)


พระสมเด็จสามเหลี่ยมที่เรียกกัน "สมเด็จจิตรดา" ที่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระเจ้าอยู่หัว (ร.9) ทรงออกแบบพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง โดยศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร แห่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เป็นข้าฯใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรมเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย ดังที่ทราบกันตามข้อมูลต่างๆที่เราๆ ท่านๆทราบ ทั้งจากหนังสือและเว็ปฯต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ลิงก์ (1)....(คลิก) ลิงก์...(2)....(คลิก)

พระเครื่องที่แตกกรุออกมาจากวัดพระแก้ว(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งบูรณะเตรียมฉลองฯ 200 ปี)  มีพระเครื่อง...หลายๆองค์มีพิมพ์ทรงแต่เนื้อหาขององค์พระคล้ายกับ พระ "สมเด็จจิตรดา" มาก
เมื่อประมาณเกือบ 30 ปีที่ผ่านมาผู้เขียนยังไม่ทราบลึกซึ่งทำให้เข้าใจว่าวงการตลาดพระเครื่องทั้งหมดปลอมเรียนแบบ พระ "สมเด็จจิตรดา"

ในภายหลัง  ผู้เขียนได้ศึกษาพระพิมพ์ "สมเด็จจิตรดา" ที่เข้าใจในครั้งก่อนเป็นของปลอมอีกครั้งหนึ่ง  ทำให้ทราบว่า  มีพระเรียนแบบพระพิมพ์ของ "สมเด็จจิตรดา" ที่เรียนแบบทั้งพิมพ์ทรง และมวลสารพระให้คล้ายหรือใกล้เคียงมีมากมายจริงๆ  ที่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระเจ้าอยู่หัว (ร.9) ทรงออกแบบพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง

ผู้ที่ได้รับพระราชทาน พระ "สมเด็จจิตรดา"  จะ มีใบพระราชทาน (ใบกำกับพระพิมพ์) บุคคลทั่วๆไปจะทราบเพียงว่ามีใบกำกับพระพิมพ์  ซึ่งจะระบุ ลำดับ วัน เดือน ปี ที่ได้รับ ขนาดกว้างประมาณ 12.7 ซม. ยาว 15.8 ซม. เป็นเอกสารส่วนพระองค์ เอกสารสำคัญฉบับนี้ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะแจ้งให้มารับภายหลังจากวันที่ได้รับพระราชทาน องค์พระ โดยไม่มีหมายกำหนดที่แน่นอน  ผู้ที่สะสมในพระพิมพ์นี้ต่างกล่าวกันว่า ใบกำกับพระพิมพ์ มีของปลอมๆ อย่างไร  "ปลอมเหมือนกันสองใบ" หรือ "หลายๆใบ" โดยมีต้นแบบของจริงอยูใบหนึ่ง  เพราะใบกำกับพระพิมพ์แบบนี้ปลอมกันง่าย
ใบกำกับพระพิมพ์อีกแบบหนึ่งที่เขียนโดย "ลายพระหัตถ์" (ลายมือ) ของ ร.9 จะได้รับพระราชทานพร้อมกับองค์พระในเวลาเดียวกัน เป็นกระดาษชนิดพิเศษที่ไม่มีขายในเมืองไทย  โรงพิมพ์หรือคนสามัญทั่วๆไปไม่สามารถหาซื้อกระดาษชนิดนี้ได้ง่ายๆ  ปากกาที่ใช้เขียนเป็นปากกาคอแร้ง  ถึงแม้นจะมีอายุของหมึกผ่านมาประมาณ 50 ปี  มองด้วยตาปล่าวหรือใช้กล้องส่องขยายพบว่าน้ำหมึกเป็นน้ำหมึกชนิดพิเศษ  แรงกดในการเขียนตัวหนังสือทะลุเป็นเส้นสายไปตามลายพระหัตถ์ ไม่เห็นมีเซี้ยนและเซียนตำรา หรือ ร้านขายพระ "สมเด็จจิตรดา" โชร์ให้เห็นกันบ้างเลย  เพื่อเป็นบุญตาสักกะรายเดียว

ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา  ผู้เขียนได้พบพระพิมพ์ "สมเด็จจิตรดา" จากผู้ที่ได้ครอบครองได้รับมากับมือตนเองในตระกูลเดียวครั้งแรก 3 องค์  และภายหลังยังพบในตระกูลอื่นๆอีก  ทำให้ทราบว่าของจริงที่ตำราเขาว่ายังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกพอสมควรที่ เซี้ยนและเซียนตำราเขา(ไม่รู้) หรือ อาจจะไม่ต้องการให้คนวงนอกรู้ก็เป็นไปได้

ภายหลังผู้เขียนได้ศึกษาพบ  พระพิมพ์คล้ายกับ พระพิมพ์ "สมเด็จจิตรดา"  ที่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระเจ้าอยู่หัว (ร.9) ทรง ออกแบบพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง  ทำให้ทราบว่าพระพิมพ์นี้มีมาแต่เก่าก่อนตั้งแต่สมัย ร.4   ที่เซี้ยนและเซียนตำราในวงการพระเมืองไทยไม่ยอมรับว่าพระเครื่องฝีมือช่าง สิบหมู่เมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา  แต่ให้พระพิมพ์ที่คล้าย พระ "สมเด็จจิตรดา" ดังกล่าว เป็นพระเรียนแบบของ ร.9

พระสายวังเมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา  ยังมีของปลอมทำเรียนแบบอีกมากมายหลากหลายพิมพ์ จากของจริงที่มีพุทธนุภาพความแรงแตกต่างกัน เนื่องจากการอธิษฐานจิตปลุกเสกต่างวาระ
ผู้เขียนขอกล่าว สรุป สั้นๆว่า  ถ้าไม่มีพระของวังที่เป็นของจริงเมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา  และมีพุทธานุภาพดีจริง ที่สร้างเพื่อบูชาพระรัตนไตร  ใคร...จะมาปลอมเรียนแบบทรงพิมพ์ทั้งเนื้อหามวลสารเหมือนกันกับพระของวังเมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา  
ของจริงมีเท่าไร  กลุ่มที่เข้าถึงพระเบื้องบน...ต่างแย่งกันเก็บ...เมื่อของจริงหมด  ย่อมมีของปลอมระบาด
ผู้เขียนมั่นใจว่า พระ "สมเด็จจิตรดา" ที่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระเจ้าอยู่หัว (ร.9) สร้างขึ้นก่อนพระเครื่องที่อยู่ในวัดพระแก้ว...จะแตกกรุออกมา  จะต้องมีพระเครื่องเมื่อ 100 กว่าปีอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์(ในวัง) จำนวนมากมายชนิดที่เซี้ยนและเซียนไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อนในชีวิตอีกมากต่อมาก
พระเครื่ององค์นี้เป็นพระเครื่องที่สร้างโดยฝีมือช่างสิบหมู่เมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา  ซึ่งมีส่วนคล้ายกับพระสมเด็จพิมพ์จิตรดา องค์นี้เป็นพระเนื้อผงบุทองคำ  ด้านหลังประทับตาพระครุฑ เป็นสัญลักษณะของวังหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4 ใน พ.ศ. 2401

พระสมเด็จจิตรดา วังหลวง สร้างสมัยรัชกาลที่ 4 บุทองคำ

พรหากเป็นพระแท้บุทองคำพบเห็นที่ใดราคาไม่สูงมากนัก ผู้เขียนแนะนำให้เก็บไว้บูชา
ความแรงของพุทธคุณ 150 X (เท่า) อธิษฐานโดยสมเด็จฯโต (วัดระฆัง)  พระ...พิมพ์นี้มีหลากหลายเนื้อด้วยกันและมีการปลอมเรียนแบบในตลาดค่อนข้างมาก