วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

186. พระสมเด็จ หลังพระนาคปรก วิเคราะห์โลหะธาตุ

พระสมเด็จ หลังพระนาคปรก วิเคราะห์โลหะธาตุ

พระสมเด็จ หลังพระนาคปรก
เป็นพระสมเด็จเนื้อโลหะที่นอกสายตาเซียนทั้งหลาย  ไม่มีในสาระบบของเซียนตำรา

--- พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่มีพิธีกรรมการสร้างดี  ประเภทนอกตาเซียนตำรา
--- ผู้เขียนนำไปทดสอบวิเคราะห์โลหะธาตุ  เพื่อศึกษาถึงส่วนผสมวิวัฒนาการเชิงช่างโบราณว่าท่านมีแนวคิดในการผสม โลหะให้คงทนมาถึงสมัยนี้มีโลหะธาตุชนิดใด
--- อีกทั้งเพื่อวิเคราะห์ให้บุคคลทั่วๆไปที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือเชื่อว่าเป็น พระแท้  จะได้เปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า  ถ้าเป็นของปลอมหรือหรือเก๊  ใครที่ไหนกล้าทำและลงทุนได้ขนาดนี้แล้ววางขายราคาหลักสิบหลักร้อย(บาท)

1861001
พระสมเด็จ หลังพระนาคปรก สร้างสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2410  สมเด็จฯโต อธิษฐานจิต




สรุปผลวิเคราะห์โลหะธาตุ ( % ) เปอร์เซนต์








* พาลาเดียม เป็นโลหะที่มีราคาใกล้เคียงทอง การใส่พาลาเดียมเป็นส่วนผสม จะช่วยให้เนื้อทองนิ่ม และเหนียว ทำให้ง่ายต่อการขึ้นรูปชิ้นงาน
คลิก....................แหล่งอ้างอิงเรื่อง พาลาเดียม 



 เพิ่มเติมข้อมูลวันที่ 24/12/2555
จากการเขียนบทความที่กล่าวถึง 
พาลาเดียม ที่พบในพระเครื่องประเภทเนื้อโลหะมีมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 4 ที่ได้ตรวจพบ  จากการวิเคราะห์โลหะธาตุ  มีผู้อวดรู้ โจมตีต่างๆ นาๆ อีกทั้งยังดูถูกความสามารถของบรรพบุรุทของไทยแต่โบราณ

วันนี้ได้เขียนกระทู้เพิ่มเติมจึงได้เขียนข้อมูลเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้ รวมถึง ผู้ยังหลงตนเองได้รับทราบ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศสยาม หรือ ประเทศไทยในขณะนั้น เทคโนโลยีเรื่อง เล่นแร่แปรธาตุ เกี่ยวกับโลหะทั้งหลาย  ประเทศไทยเป็นได้เป็นลองใคร

ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อเรือรบ(สร้างเรือรบ) ที่ทันสมัย มีในบันทึกในประวัติศาสตร์ ประเทศอินเดีย พม่า เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ประเทศในแถวนี้ยังไม่มีใช้และยังไม่สามารถสร้างหรือต่อเรือรบที่ทันสมัยเทียบเท่าประเทศที่เจริญแล้วในขณะนั้นใช้เองได้  ประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้นเกิดสงครามภายใน  ยังเคยมาขอซื้อเรือรบที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างขึ้น  

      พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงพระปรีชาสามารถมาก ทรงรอบรู้งานใน ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น งานด้านกองทัพบก กองทัพเรือ ด้านต่างประเทศ วิชาช่างจักรกล และวิชาการปืนใหญ่

เริ่มมีเรือรบกลไฟเป็นครั้งแรก ชื่อเรืออาสาวดีรส3 และเรือยงยศอโยชฌิยา4 (หรือยงยศอโยธยา) 

ซึ่งเมื่อครั้งเรือยงยศอโยชฌิยา ได้เดินทางไปราชการที่สิงคโปร์ ก็ได้รับคำชมเชยจากต่างประเทศเป็นอันมาก ว่าพระองค์มี พระปรีชาสามารถทรงต่อเรือได้ และการเดินทางในครั้งนั้นเท่ากับเป็นการไปอวดธงไทยในต่างประเทศ ธงไทยได้ถูกชัก ขึ้นคู่กับธงอังกฤษ ที่ฟอร์ทแคนนิ่งด้วย 

ประวัติของเรือที่พระองค์ทรงมีใช้ในสมัยนั้น ตามที่พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์ ได้รายงานเล่าไว้ในหนังสือ ประวัติทหารเรือไทย มีดังนี้
        1. เรือพุทธอำนาจ (Fairy) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2379 เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด 200 ตัน มีอาวุธปืนใหญ่ 10 กระบอก เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ. 2384 ไปราชการทัพรบกับญวน ใช้เป็นเรือพระที่นั่งของแม่ทัพ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ยกกองทัพไปรบกับญวน ตีเมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน)
        2. เรือราชฤทธิ์ (Sir Walter Scott) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2379 เป็นเรือแบบเดียวกันกับพุทธอำนาจ เมื่อ พ.ศ. 2384 ไปราชการทัพรบกับญวน
        3. เรืออุดมเดช (Lion) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2384 เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด 300 ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ. 2384 ได้ใช้ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ. 2387 ได้นำสมณทูตไปลังกา
        4. เรือเวทชงัด (Tiger) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2386 เป็นเรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด 200 ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
        5. เรือพุทธสิงหาศน์ (Cruizer) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2398 เป็นเรือชนิดชิพ ขนาด 400 ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ
        6. เรือมงคลราชปักษี (Falcon) ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2400 เดิมเป็นเรือของชาวอเมริกัน ชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด 100 ตัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงซื้อมา แล้วดัดแปลงใช้เป็นเรือรบ เรือพระที่นั่งของพระองค์ 

สรุป
     ในสมัย พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศสยาม หรือ ประเทศไทยในขณะนั้น ต่อเรือรบใช้เอง 5 ลำ และซื้อมาดัดแปลงเป็นเรือรบ 1 ลำ  
     ด้วยความรู้วิชาการต่อเรือ ที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ทราบได้แล้วว่าในขณะนั้นประเทศไทยมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากเกี่ยวกับเรื่องโลหะธาตุ  ซึ่งต่างจากสมัยนี้ต้องการโลหะชนิดใดสามารถสั่งซื้อจากโรงงานต่างๆที่ผลิตได้ไม่ยาก  ในสมัยนั้นต้องผลิตสร้างเอาเองจึงจะมีวัตถุดิบใช้  ความรู้ทางด้านโลหะธาตุประเทศสยามในภูมิภาคนี้มีเทคโนโลยีเหนือกว่าทั้งหมดทุกประเทศ ดังที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจากบันทึกหนังสือหลายๆเล่มที่ได้เขียนขึ้น