วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

107. พุทธานุภาพว่าด้วยเรื่องความแรงของพระเครื่อง(วัถตุมงคล)

พุทธานุภาพว่าด้วยเรื่องความแรงของพระเครื่อง(วัถตุมงคล) 

นักสะสมพระเครื่องมีด้วยกันหลายประเภท นักสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่เกือบ 100% ไม่มีความรู้เรื่องพุทธคุณ  และบุคคลส่วนใหญ่เหล่านี้เมื่อสัมผัสองค์พระยังไม่สามารถแยกได้ว่าองค์ไหนมี หรือไม่มีพุทธคุณ  ผู้เขียนขอกล่าวแบบสรุปสั้นๆ ดังนี้

- พระเครื่องหรือวัตถุมงคลไม่ว่าจะเป็นพระอริยสงฆ์  เกจิอาจารย์ท่านใดอธิฐานจิตปลุกเสก หากมีความรู้เมื่อทำเสร็จจะต้องมีพุทธนุภาพทุกๆองค์

- พระอริยสงฆ์  เกจิอาจารย์ต่างองค์  ในการอธิฐานจิตพลังขององค์พระที่ทำเสร็จ  จะมีความแรงของพุทธนุภาพและลักษณะเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน

- พระอริยสงฆ์  เกจิอาจารย์องค์เดียวกัน  อธิฐานจิต 1 ครั้ง  กับการอธิฐานจิตหลายๆครั้ง  วัตถุมงคลที่ทำเสร็จพุทธนุภาพจะไม่เท่ากัน

         พระพุทธคุณเกิดจากพุทธานุภาพ(พลัง)  เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วๆไปมองไม่เห็น  บางคนสามารถสัมผัสได้  เพราะมีความศรัทธา 
   
         พลังของพุทธคุณหรือพุทธานุภาพของพระนั้นเกิดจากการทำพิธีปลุกเสก  เกิดขึ้นนับตั้งแต่สมัยโบราณกาลเป็นต้นมา  มีวาระการสร้างที่เหมาะสมในการทำพิธี   

          คำว่า วาระ”     หมายถึง  เมื่อจะทำพิธีต้องมีเวลา ตกฟาก  หรือคนโบราณเรียกว่า  ยาม  พอได้วาระที่เหมาะสมจะทำประกอบพิธีโดยมีเกจิอาจารย์  ร่วมกันประกอบพิธี  จนเสร็จสิ้นพิธีตามวาระที่ได้กำหนด  

         การสร้างวัตถุมงคล  แยกมวลสารได้หลากหลายชนิด  แต่ละสถานที่  แต่ละพิธีกรรม  วัตถุดิบ  มวลสารที่นำมาใช้ประกอบพิธีในแต่ละที่ แต่ละพิธีจะไม่เหมือนกัน

         ผู้เขียนขอตั้งค่ามาตราฐานความแรงของวัตถุมงคล(พระเครื่อง) พิมพ์สมเด็จ 4 เหลี่ยมชิ้นฟัก  อันเป็นพระที่นักสะสมพระเครื่องต่างเสาะแสวงหา  เป็นพระ...ที่สมเด็จพุฒจารย์(โต) วัดระฆัง อธิฐานจิตทั่วๆไป  ผู้เขียนขอเรียกว่ามี พุทธนุภาพมีค่ามาตราฐาน เท่ากับ 1  หากไม่เข้าใจ  ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบ เท่ากับ 1 แรงม้า คงทำให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

รูปต่อไปนี้พระสมเด็จยอดนิยม หากตรวจสอบด้วยการจับพลังหรือสอบถามจากพระเบื้องบน...ความแรงของพระเครื่องดังรูปต่อไปนี้มีค่าเทียบเท่ากับ 1  หรือเท่ากับ 1 แรงม้า
     
     บุคคลที่สามารถตรวจสอบพลังพุทธคุณได้จะพบว่าพระเครื่องต่างๆ เมื่อแต่ละเกจิอาจารย์ทำเสร็จ  จะมีความแรงของพุทธคุณไม่เท่ากัน

ที่ผู้เขียนพบ มีความแรงของพระเครื่อง...แบ่งหยาบๆได้ดังต่อไปนี้
ระดับที่ 1   มีพุทธานุภาพต่ำว่า 1 (แรงม้า)
ระดับที่ 2   มีพุทธานุภาพเทียบเท่ากับ 1 (แรงม้า)  จะพบได้ในพระสมเด็จทั่วๆไปที่อธิฐานจิตโดยสมเด็จพุฒจารย์โต  ซึ่งเป็นความแรงพุทธานุภาพแบบมาตราฐาน  หากต่ำกว่านี้ถือว่าไม่ได้มาตราฐาน
ระดับที่ 3   มีพุทธานุภาพมากกว่า 5 (แรงม้า)  แต่ไม่ถึง 6 (แรงม้า)
ระดับที่ 4   มีพุทธานุภาพมากกว่า 10 (แรงม้า)  แต่ไม่ถึง 11 (แรงม้า)
ระดับที่ 5   มีพุทธานุภาพมากกว่า 25 (แรงม้า)  แต่ไม่ถึง 26 (แรงม้า)
ระดับที่ 6   มีพุทธานุภาพมากกว่า 30 (แรงม้า)  แต่ไม่ถึง 31 (แรงม้า)
ระดับที่ 7   มีพุทธานุภาพมากกว่า 50 (แรงม้า)  แต่ไม่ถึง 51(แรงม้า)
ระดับที่ 8   มีพุทธานุภาพมากกว่า 150 (แรงม้า)  แต่ไม่ถึง 151 (แรงม้า) 
ระดับที่ 9   มีพุทธานุภาพความแรงไม่สิ้นสุด ( INFINITY )

เรื่องความแรงของพุทธนุภาพกับการอาราธนา มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า
         การอัญเชิญพระพิมพ์ที่มีพลังพุทธานุภาพมากๆ หากผู้สวมใหม่หรือห้อยวัตถุมงคล ไม่มีพลังจิต ภูมิธรรมที่สูงเพียงพอในการอาราธนา ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะอัญเชิญท่านได้อย่างสมบูรณ์ (ต้องมีความสมดุลกันทั้งสองฝ่าย)   
         ต้องมีการทำสมาธิ(สะสมกำลัง  ชำระกิเลส)  เพื่อปรับธาตุขันธ์ให้มีกำลังมากยิ่งขึ้นๆโดยสม่ำเสมอ การ แขวนพระที่มีพลังสูง ต่ำ แตกต่างกัน เช่น 
--- การแขวนพระที่มีพุทธคุณเท่ากับ 10 (แรงม้า)  พลังขององค์ที่สูงสุดจะออกมาทำงาน(แผ่อิทธิคุณ)ก่อนเสมอ  
--- หากมีการแขวนพระพลังเท่ากับ 1 (แรงม้า) พลังย่อมถูกบดบังเพราะเป็นองค์ที่มีพลังต่ำกว่า