การวิเคราะห์พระสมเด็จด้วยวิธี คาร์บอน – 14 Carbon – 14
การตรวจอายุพระสมเด็จโดยวิธี คาร์บอน – 14 Carbon – 14
เพื่อทำความเข้าใจ ในกระทู้นี้จึงได้นำผลวิเคราะห์ที่มีในเน็ตนำมาวิเคราะห์ให้ท่านที่สนใจได้ เข้าใจ สามารถอ่านข้อมูลของผลสรุปการวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง อ่านค่าผลสรุปที่ได้เข้าใจถูกต้อง...ไม่ใช่ฟังเขาเล่าว่า...
รูปที่ 1 ภาพกรรมวิธีในการวิจัยหาอายุ พระสมเด็จฯ....โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถานที่ตั้ง จ.นครนายก
ผลสรุปของกราฟจากข้อมูลรูปที่ 1
1. กราฟเส้นสีแดง
2. กราฟเส้นสีเขียว
3. กราฟเส้นสีน้ำเงิน
4. กราฟเส้นสีเหลือง
กราฟทั้ง 4 เส้น กราฟเส้นสีน้ำเงิน และกราฟเส้นสีเขียว จุดเริ่มต้นเห็นเด่นชัดคือ เริ่มต้นที่เลขต่ำกว่า 100 (เล็กน้อย)ไปสุดกราฟทางขวามือ คือ ประมาณ 700 หมายถึง เส้นกราฟเริ่มวิเคราะห์อายุของพระสมเด็จฯ วิเคราะห์อายุได้ต่ำกว่า 100 ปี(เล็กน้อย) ไล่ไปทางขวามือประมาณ 700 ปี (น่าจะมีกราฟต่อออกไปอีกแต่ไม่ได้โชว์ในรูปนี้)
ดังนั้นกราฟแสดงผลสรุปพระสมเด็จฯที่นำมาทดสอบวิเคราะห์อายุด้วยกราฟมีอายุประมาณ 100 ปี(เก้าสิบกว่าปี)
รูปที่ 2 ภาพใบรายงานการวิจัยหาอายุ พระสมเด็จฯ....โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถานที่ตั้ง จ.นครนายก
ดูในกรอบสี่เหลี่ยมสีม่วง
--- Age (Years, B.P.) หมายถึง อายุ (ปี และ ค่าความคลาดเคลื่อน)
รูปที่ 3 ตัวอย่างรูปอ้างอิงฯ เพื่อเปรียบเทียบผลสรุป เพื่อจะได้เข้าใจการอ่านข้อมูล ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน
อ้างอิงจาก ลิงก์ ทฤษฏีการวัดและความคลาดเคลื่อน หน้า 10/43 (คลิก) http://www.slideshare.net/Chattichai/2-2-4736513
ผลสรุปรูปที่ 2 รายงานจากการวิเคราะห์ Analysis Report
--- 1170 คือ อายุของตัวอย่างพระสมเด็จฯที่วิเคราะห์มีอายุมากที่สุด 1,170 ปี
--- ค่าทฤษฏีการวัดความคลาดเคลื่อน + - เท่ากับ 170 ปี
ทฤษฏีค่าความคลาดเคลื่อน
--- คิดค่าความคลาดเคลื่อนอายุมากสุด = 1,170 ปี +170 ปี เท่ากับ 1,340 ปี
--- คิดค่าความคลาดเคลื่อนอายุต่ำสุด = 1,170 ปี - 170 ปี เท่ากับ 1,000 ปี
ผลของการวิเคราะห์อายุพระสมเด็จฯ...มีอายุ 1,000 - 1,340 ปี อย่าพึ่งงง พิมพ์ไม่ผิดครับ อายุหนึ่งพันถึงหนึ่งพันสามร้อยสี่สิบปี ซึ่งเป็นผลของการวิเคราะห์เนื้อมวลสารของพระสมเด็จ...ที่มีผสมอยู่อายุ(น่าจะ)เก่าแก่(มาก)ที่สุด หากใครกล่าวว่าพระสมเด็จฯสร้างมีอายุถึงหนึ่งพันปีคงได้ ฮา กันท้องแข็ง
วัตถุประสงค์ใน กระทู้นี้เพื่อให้คนที่เข้ามาอ่านในกระทู้นี้ได้เข้าใจวิธีการอ่านผลสรุปของ รายงานผลของกราฟและสรุปอายุและค่าทฤษฏีความคลาดเคลื่อนเป็น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อโจมตีหรือใส่ร้ายผู้หนึ่งผู้ใด
ปีนี้ พ.ศ.2556 พระสมเด็จฯที่นำมาทดสอบ ลบ 100 ปี เท่ากับ พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นสมัยต้นรัชกาลที่ 6
สามารถสรุปได้เป็น 2 กรณี
1. การทดสอบด้วยการตรวจอายุพระสมเด็จโดยวิธี คาร์บอน – 14 Carbon – 14 ถ้าบอกว่าผลสรุปของกราฟถูกต้องเม่นยำ แต่ตรวจสอบด้วยตาใน อายุประมาณ 100 ปีผิด ไม่ตรงกับปี พ.ศ.ที่สร้างห่างเยอะ และถ้าใครอ่านสรุปผลข้อมุลพระสมเด็จฯที่ทดสอบมีอายุ 170 ปี โปรดทราบว่านั้นคือการมั่วข้อมูล
2. ถ้าบอกว่าห้องปฏิบัติการทดสอบ(ห้อง LAB) วิธีการและเงื่อนไขการทดสอบยังใช้ไม่ได้จากผลวิเคราะห์ในครั้งนี้ เรื่องนี้สำหรับผู้เขียนคิดว่าต้องมีการปรับแก้เงื่อนไขการวิเคราะห์ฯลฯเพื่อตั้งค่าของเครื่องมือให้เหมาะสม(คิดว่าน่าจะทำได้) แล้วใครละจะทำได้