วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระสมเด็จ เนื้อชินเขียว วัดระฆัง พ.ศ.2408

พระสมเด็จ เนื้อชินเขียว(ตะกั่วถ้ำชา) พ.ศ.2408

ชื่อ:
พระสมเด็จ เนื้อชินเขียว ตะกั่ว(ถ้ำชา) พ.ศ. 2408

สร้างสมัย:
รัชกาลที่ 4  พ.ศ.2408

ผู้อธิษฐานจิต(สร้าง):

สมเด็จฯ โต พรหมรังสี วัดระฆัง


มวลสาร:

ชินอุทุมพร หรือ  ชินเขียว มีส่วนผสมของตะกั่วและแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ สีเขียว(เกิดจากมีส่วนผสมทองแดง) สนิมเป็นเม็ดสีขาวหม่น
พระองค์ใดมีส่วนผสมของตะกั่วยิ่งมาก พระองค์นั้นจะมีความอ่อนจับบิดงอได้ง่าย 

พลานุภาพ:
ครบเครื่องทุกเรื่องฯลฯ
เมตตามหานิยม มหาอำนาจ บารมี  โชคลาภ  วาสนา  พลานุภาพ 108 เหนือคำบรรยาย มีครบทุกด้าน ไร้ขีดจำกัด

ฝีมือสร้าง:
วัดระฆัง

อายุ:
(2556-2408) 148 ปี


ราคาเหมะสม:

3,500,000.00 บาท(สามล้านห้าแสนบาทถ้วน)


ราคาเซียนใหญ่: 100,000,000.00 บาท(หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน)


ราคาท้องตลาด: -

ราคาสมบัติผลัดกันซื้อ:

มีกำไรซื้อ-ขายได้ทุกราคา 
พระสมเด็จตะกั่วถ้ำชา เนื้อชินเขียว  วัดระฆัง พ.ศ.2408


พระสมเด็จตะกั่วถ้ำชา เนื้อชินเขียว  วัดระฆัง พ.ศ.2408

- เนื้อชินเขียวในวงกลมสีเขียวๆ
- เกิดสนิทสีขาวหม่นในวงกลม เมื่อสัมผัสกับอากาศได้ไม่ถึง 1 อาทิตย์
- องค์พระสมเด็จฯ สมัยเมื่อ 148 ปีที่ผ่านมา รักษาองค์พระด้วยการทารักสีส้มอมน้ำตาลแดงด้านหน้าและด้านหลังขององค์
- ผู้เขียนได้มาครั้งแรก ออกแรงบิดเบาๆ เนื้อโลหะธาตุมีความอ่อนตัวบิดงอไปมาได้ และรักที่ทาไว้ระเบิดออกเผยให้เห็นเนื้อในของเนื้อชินเขียว(ตะกั่วถ้ำชา) ดังรายละเอียดของรูปที่ขยาย
- ตำราโบราณมีผู้กล่าวไว้ว่า "ชินเขียว มีสนิมสีขาวหม่น" คือ พระที่มีมวลสารโลหะธาตุดังเช่น พระสมเด็จองค์ที่ผู้เขียนนำมาเปิดเผยเพื่อเรียนรู้และศึกษา ดั่งคำว่า สมบัติผลัดกันชม  เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมย่อมต้องเปลี่ยนเจ้าของ เพราะผู้สร้างก็ตายไปหมดแล้ว  คนที่เคยครอบครองก่อนหน้าก็ตายไปแล้วเช่นกัน  

บทความอ้างอิงฯ คลิกลิงก์ http://dr-natachai.blogspot.com/2013/10/blog-post_26.html 

ตะกั่วถ้ำชา ชิน นวโลหะ สัมฤทธิ์ สำริด ต่างกันอย่างไร?

ตะกั่วถ้ำชา ชิน นวโลหะ สัมฤทธิ์ สำริด ต่างกันอย่างไร?


จาก การศึกษาข้อมูลทางวิชาการที่มีผู้เขียนขึ้นกล่าวถึง...และจากผลการวิเคราะห์ โลหะธาตุ ทั้งหมดเรียกว่าสัมฤทธิ์ หรือ สำริด ภาษาฝรั่งเรียกว่า Bronze เป็นโลหะธาตุที่มีสูตรหรือส่วนผสมหลากหลาย  อยู่ที่ผู้หลอมโลหะธาตุการการนำไปใช้ทำอะไร  เมื่อหลอมหล่อโลหะธาตุสำเร็จออกมามีวรรณะสีผิวแตกต่างกันไป เช่น ขาว เหลือง แดงอ่อน เป็นต้น

ชิน หมายถึง โลหะผสมได้มากกว่าหนึ่งอย่าง พระเครื่องในเมืองไทยที่สร้างจากเนื้อชิน มักจะมีส่วนผสมหลักๆ ได้แก่ ปรอท ดีบุก ตะกั่ว และทองแดง ทั้งนี้เมื่อผสมแล้วจะออกมาเป็นเนื้ออะไร ขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งมาก เช่น ถ้าใส่ทองแดงจะช่วยให้มีความแข็งของโลหะและยิ่งใส่ผสมมากขึ้นยิ่งทำให้โลหะที่ได้มีความแข็งมากขึ้น  (เมื่อโลหะที่นำมาหลอม โลหะที่มีน้ำหนักเบาจะลอยอยู่ด้านบน พระองค์ใดเทก่อนโลหะเบาลงเบ้าก่อน พระชุดแรกออกมาเนื้อแบบหนึ่ง องค์ที่เทภายหลังโลหะหนัก เช่น ตะกั่วนอนก้นเตาหลอมเทออกมาเป็นเนื้ออีกแบบหนึ่ง) โลหะธาตุเนื้อมวลสารต่างกันจะมีลักษณะเฉพาะตัวและมีชื่อเรียกขานที่แตกต่างกันไป เช่น ชินตะกั่ว ชินเงิน ชินอุทุมพร ชินเขียว ก็สุดแท้แต่จะเรียกขานกันไป ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าแยกตามวรรณะสีผิว เมื่อผ่านกาลเวลามีความเก่ามากขึ้น  มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด(ยิ่งเก่ายิ่งเห็นชัด) ทั้งในด้านสีสันและลักษณะพื้นผิว ไข สนิม รอยเหี่ยว รอยปริราน ฯลฯ


เนื้อ นวโลหะ ฝรั่งเขาตั้งชื่อจดทะเบียนให้ว่า Thai bronze   หมายถึง สัมฤทธิ์ไทย (สำริดไทย)

คำว่า bronze หมายถึง สำริด หรือ โลหะหลายชนิดมารวมกัน ไม่มีสูตรตายตัวแน่นอน ซึ่งก็ คือ ชิน โลหะที่โบราณนิยมมาสร้างเป็นเครื่องมือเครื่องใช้รวมถึงสร้างองค์พระขนาด ใหญ่และเล็กมีมานานนับหลายพันปีที่ได้พบตามสถานที่ต่างๆทั่วประเทศไทย


พระเนื้อชิน หมายถึง พระโลหะ ที่มีวรรณะสีผิว แววๆ ผิวออก ขาวๆ เงินๆ ตะกั่วๆ โดยปกติ กระแสสัดส่วนของโลหะ แก่ตะกั่ว(ผิวขาว)  แก่ปรอท(ผิววาว)  แก่ทองแดง (สนิมเขียว) โบราณนิยมสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล

ใน อดีตกล่าวกันว่า ชิน เป็นโลหะธาตุผสมของ ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี เหล็ก พลวง ปรอท และเงิน ฯลฯ ที่ไม่มีสูตรตายตัว  อยู่ที่ความเชื่อและศรัทธาของผู้สร้างว่าต้องการใส่แร่ธาตุชนิดใดบ้าง ส่วนผสมมากน้อยไม่เท่ากัน


ประเภทของโลหะธาตุ

ปรอท   ใส่ปรอทลงไปเป็นส่วนผสม เพื่อให้เนื้อโลหะหลอมเหลววิ่งเข้าติดซอกมุมของพิมพ์  เพราะปรอทจะหนีความร้อน ทำให้โลหะธาตุอื่นๆวิ่งตามไปติดเต็มพิมพ์ทำให้องค์พระเทออกมาสมบูรณ์สวยงาม  ปรอทหากอยู่ส่วนผิวนอกสุดจะทำให้พระมีสีเงินแวววาว ผิวปรอทจะเปลี่ยนแปลงยากต้องใช้เวลาหลายร้อยปีถึงพันปีขึ้นไปจึงจะมีลักษณะซีดหมองลง หรือเรียกว่าปรอทตาย เมื่อสัมผัสความชื้น ความเค็มผ่านไปหลายร้อยปีจะหมองลงๆ จนกระทั่งดำ


เนื้อตะกั่ว เป็นส่วนผสมหลักของพระเครื่องประเภทเนื้อชินที่มีการสร้างในไทยมากที่สุด การสร้างการผลิตทำได้ง่าย มีจุดหลอมเหลวต่ำ ลักษณะของตะกั่วเมื่อผ่านกาลเวลาจะมีสีดำคล้ำ มีความฉ่ำที่สัมผัสได้ทางสายตา มีความยับ ความย่น ความโปร่งพรุน ตามธรรมชาติ  มีสนิมและไขขาว พระเนื้อชินตะกั่วที่มีอายุมากๆบางทีสนิมกับไขนั้นก็กินลึกเข้าไปถึงเนื้อใน ทำให้เกิดหลุมบ่อหรือกินจน แทบไม่เหลือเนื้อแท้อยู่เลย กลายเป็นไขและสนิมมาแทนที่เนื้อโลหะเดิม ขึ้นอยู่กับสภาพการเก็บรักษา สนิมและไขนั้นเกิดจากภายในเนื้อแร่โลหะที่ผสมหล่อหลอมกับเนื้อตะกั่ว


เนื้อดีบุก เป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในไทย  ในสมัยโบราณใช้ทำเหรียญและเครื่องใช้หลายชนิด ลักษณะเด่นของดีบุกเมื่อผ่านกาลเวลาไปคือจะมีสีดำสนิท  ถ้าถูกความชื้นเพราะเก็บรักษาไม่ดี โลหะธาตุที่ผสมในเนื้อตะกั่วจะมีลักษณะพองตัวและทำให้ตะกั่วปริแยกออก นักเล่นพระจะเรียกว่า ระเบิด


*** พระเนื้อชินมีสูตรมากชนิด...สร้าง...แต่ละยุคสมัย...ต่าง พ.ศ....ต่างที่...ต่างกรุ จะมีมวลสารเนื้อหาต่างกันไป...อายุสร้าง 100 ปี  500 ปี มากกว่า 1,000 ปี  วรรณะสีผิวมีความแตกต่างกันสิ้นเชิง

หลักในการพิจารณาพระเนื้อชิน สร้างสมัย รัชกาลที่ 4 ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้








ชินวร หรือ 
ชินสังกะสี มีส่วนผสมของสังกะสีมากถึง 90% ทองแดงประมาณ 6% และรีเนียม ประมาณ 3% และแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ   เนื้อแข็ง สนิมดำ แกร่งมาก น้ำหนักเบากว่าเนื้อชินตะกั่วและเนื้อชินดีบุก
 
ชินอุทุมพร หรือ 

ชินเขียว มีส่วนผสมของตะกั่วและแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ สีเขียว(เกิดจากมีส่วนผสมทองแดงมาก) สนิมเป็นเม็ดสีขาวหม่น
 
ชินเงิน มีส่วนผสมของตะกั่ว ทองแดง
และแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ฯลฯ และมีปรอทผสมอยู่มาก จะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ 
 
ชินตะกั่ว แบบที่1

ตะกั่วถ้ำชา มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดประมาณ 98 % มีทองแดง 2 % และแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ พระที่มีส่วนผสมของทองแดงมากจะมีความแข็งเพิ่มขึ้น

ชินตะกั่ว แบบที่2 มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดประมาณ 90 % มีทองแดง 9.5 % และแร่ธาตุ อื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ พระที่มีส่วนผสมของทองแดงมากจะมีความแข็งเพิ่มขึ้น(เอกลักษณะเฉพาะของทองแดง เมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศและโลหะธาตุอื่นๆจะเกิดสีเป็นสนิทสีเขียว)  และพระองค์ใดมีส่วนผสมของตะกั่วยิ่งมาก พระองค์นั้นจะมีความอ่อนจับบิดงอได้ง่าย 

ชินดีบุก  มีส่วนผสมของดีบุกมากที่สุดประมาณ 71 % มีทองแดงประมาณ 18 % ตะกั่วประมาณ 7.5%  เหล็กประมาณ 2.5% และแร่ธาตุ อื่นๆเช่น ปรอทฯลฯ
กรรมวิธีการสร้างพระ เนื้อชิน ถือเป็นการหลอมเหลวรวมโลหะธาตุที่สำคัญ  พระที่พบส่วนมากจะเป็นศิลปะสกุลช่างหลวง พระเนื้อชินจัดเป็นพระที่ไม่ยุ่งยากในการสร้าง หากในสมัยโบราณกรรมวิธีนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการและอาศัยแรงคนจัดทำ มิใช่น้อย ดังนั้นผู้ที่สามารถสร้างพระเนื้อชินได้ จะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในชั้นเจ้านาย หรือระดับผู้นำ ที่สามารถสั่งบัญชาการได้ จึงถือว่าพระเนื้อชินเป็นพระเครื่องชั้นสูงมาแต่โบราณ ประการสำคัญ การพบพระเนื้อชินส่วนมากจะพบในกรุตามโบราณสถานสำคัญ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะกระทำได้

พระเนื้อชิน ถือเป็น อมตะพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล
พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นโลหะธาตุชนิดหนึ่งที่ครองใจผู้คนมานาน นับแต่โบราณความเชื่อและศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึก ในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง 


สัมฤทธิ์
สัมฤทธิ์ หรือ สำริด เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง และดีบุก สัมฤทธิ์บางชนิดอาจมีส่วนผสมของสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่ด้วย สัมฤทธิ์ที่เป็นโลหะผสมของทองแดง นิยมใช้ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลที่ใช้กันมากในงานอุตสาหกรรม สัมฤทธิ์แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามชนิดและส่วนผสมของสาร คือ
1. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ 8 ค่อนข้างอ่อน ตีแผ่ หรือรีดได้ง่าย เหมาะกับงานทั่วๆ ไป
2. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ 8 แต่มีสังกะสี หรือตะกั่วผสมอยู่ด้วย เช่น สัมฤทธิ์ 5-5-5 คือ สัมฤทธิ์ที่มีส่วนผสมของดีบุกร้อยละ 5 สังกะสีร้อยละ 5 ตะกั่วร้อยละ 5 ใช้ทำเฟือง และหล่อทำเครื่องสูบน้ำ
3. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกร้อยละ 8-10 อาจมีสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่บ้าง สัมฤทธิ์ชนิดนี้ใช้ทำท่อน้ำ
4. สัมฤทธิ์ที่มีฟอสฟอรัสผสมอยู่ร้อยละ 0.1-0.6 ดีบุกร้อยละ 6-14 สัมฤทธิ์ชนิดนี้ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ทำชิ้นส่วนของเรือเดินทะเล เช่น ใบพัดเรือ และทำเฟืองเกียร์
5. สัมฤทธิ์ที่มีตะกั่วผสมร้อยละ 8-20 บางชนิดอาจสูงถึงร้อยละ 30 ส่วนดีบุกนั้นมีตั้งแต่ร้อยละ 0-10 ใช้ทำแท่นรองรับ (bearing)
6. สัมฤทธิ์ชนิดที่ใช้ทำระฆัง หรือเครื่องเสียง มีส่วนผสมของดีบุกมากกว่าร้อยละ 30 โดยผสมตะกั่วและสังกะสีลงไปเล็กน้อย

*** จากข้อมูลสัมฤทธิ์(สำริด) ที่นิยมในงานอุตสาหกรรม สรุปได้ว่า สำริด ก็คือ ชิน เป็นโลหะธาตุที่มีส่วนผสม(สูตร)เฉพาะเจาะจงของผู้สร้าง...  ที่วงการพระเครื่องกล่าวขานถึงนั้นเอง